S E A R C H

แอร์ถูก แอร์มิชซูถูก แอร์ราคาพิเศษ ราคาถูก

แอร์ถูก แอร์มิชซูราคาถูก แอร์มิชซู ราคาถูก แอร์ราคาถูก ขายแอร์ราคาถูก จำหน่ายแอร์มิชซูบิชิราคาถูกที่สุด ที่นี่ครับ
เครื่องปรับอากาศมิชซูบิชิ
MITSUBISHI Air Condition

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

1. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ จะประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณ 5-7%
 
2. ทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นทุก 6 เดือน
 
3. ทำความสะอาดพัดลมส่งความเย็นทุก 6 เดือน
 
4. ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อนทุก 6 เดือน
 
5. หากเครื่องปรับอากาศไม่เย็น เพราะสารทำความเย็นอาจรั่ว ต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้วแก้ไขโดยเร็ว พร้อมเติมสารทำความเย็นให้เต็มโดยทันที
 
6. ตรวจสอบสภาพฉนวนหุ้มท่อทำความเย็นเสมอๆ 
 
 
 

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม
 
2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
 
3. อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของ condensing unit ที่ตั้งอยู่ภายนอกห้อง
4. อย่านำรูปภาพ หรือสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของ fan coil unit ที่ตั้งอยู่ภายในห้อง
 
5. ควรเปิดหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศเฉพาะเท่าที่จำเป็น
6. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัวที่มีความร้อนจัดเข้าไปในห้องปรับอากาศ
 
7. ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ 15 นาที ควรเปิดห้องให้อากาศบริสุทธ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าภายในห้อง
8. ปิดห้องให้สนิท ขณะเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ
 
9. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าในห้องปรับอากาศ

ส่วนประกอบทั่วไปของเครื่องปรับอากาศ

ส่วนประกอบทั่วไปของเครื่องปรับอากาศ

1. แผงท่อความท่อเย็น (Cooling Coil)
 
2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
 
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condensing Coil)
 
4. พัดลมส่งลมเย็น (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน (Condensing fan)
 
6. แผ่นกรองอากาศ (Air Filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกร็ดกระจายลมเย็น (Louver)
 
8. อุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดเครื่อง (Remote Control)
 
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device)
 

วิธีใช้เครื่องสูบน้ำให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องสูบน้ำให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย
 
 
1. เครื่องสูบน้ำชนิดมีถังความดัน (pressure tank) ควรเลือกซื้อให้มีขนาดใหญ่พอควร

2. บ่อพักควรสร้างไว้ระดับพื้นดินหรือใต้ดิน

3. ใช้สวิตช์อัตโนมัติช่วยการทำงาน

4.  ประหยัดการใช้และลดการสูญเปล่าของน้ำ
5.  ควรตรวจสอบและบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ

6.  ต้องติดตั้งสายดินพร้อมทั้งมีเครื่องตัดไฟฟ้ารั่วด้วย

7.  ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 
 
 

วิธีใช้เครื่องปั่นผลไม้ - เครื่องผสมอาหารให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องปั่นผลไม้ - เครื่องผสมอาหารให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

1. ควรเลือกขนาดให้พอเหมาะ และใช้เท่าที่จำเป็น

2. ไม่ควรใช้ให้เกินกำลัง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

3. ควรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 มิฉะนั้นต้องมีสายดินมาด้วย

4. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องดูดฝุ่นให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เครื่อดูดฝุ่นให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย
 
 
1. เมื่อใช้แล้วควรเอาฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อเครื่องจะได้มีแรงดูดดี และไม่กินไฟ


2. ซื้อเฉพาะประเภทที่มีสายดินพร้อมมากับปลั๊กไฟและติดตั้งระบบสายดินที่เต้ารับด้วย ยกเว้นว่าเป็นเครื่องใชไฟฟ้าประเภท 2

3.   ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องให้ประหยัดพลังงาน และปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องให้ประหยัดพลังงาน และปลอดภัย
 
1.ใช้เสร็จแล้วรีบปิด เครื่อง อย่าเปิดสวิตช์ทิ้งไว้

2.ไม่ควรปรับปุ่มความร้อน เกินความจำเป็น

3.สวิตช์และส่วนประกอบอื่น ๆ ต้องเป็นชนิดที่กันน้ำได้

4.ต้องติดตั้งระบบสายดิน กับเครื่องทำน้ำอุ่น พร้อมทั้งมีเครื่องตัดไฟรั่วเป็นอุปกรณ์สริม
 5.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องปิ้งขนมปังให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องปิ้งขนมปังให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย
 
1. ตั้งระดับความร้อนให้พอดีกับความต้องการ

2. ขั้วต่อสายที่ตัวเครื่องปิ้งขนมปังและที่เต้ารับต้องเสียบให้แน่นสนิท

3. เมื่อเลิกใช้งานควรถอดปลั๊กออกจากเต้ารับ

4. ขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ทนไฟหรือไม่ติดไฟ

5. ติดตั้งสายดินและหมั่นใช้ไขควงลองไฟทดสอบไฟรั่วอยู่เสมอ

6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
ควรเลือกขนาดให้พอเหมาะกับการใช้งานและมีข้อแนะนำดังนี้
จำนวนคนที่รับประทาน (คน)
ขนาดหม้อหุงข้าวที่ควรใช้ (ลิตร)
กินไฟประมาณ (วัตต์)
1 - 3
1
450
4 - 5
1.5
550
6 - 8
2
600
8 - 10
2.8
1,000
10 - 12
3
1,350


วิธี ใช้หม้อหุงข้าวให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย
 
1. ต้องต่อสายดินกับหม้อหุงข้าวและหมั่นใช้ไขควงลองไฟทดสอบอยู่เสมอ

2. ขั้วต่อสายที่ต่อสายที่ตัวหม้อหุงข้าวและที่เต้ารับต้องเสียบให้แน่นสนิท

3. เมื่อเลิกใช้งานควรถอดปลั๊กออกจากเต้ารับ

4. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 

วิธีใช้หม้อต้มน้ำร้อนอย่างประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้หม้อต้มน้ำร้อนอย่างประหยัดพลังงานและปลอดภัย

1.ควรใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการ

2.ถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิก ใช้งาน   
- เมื่อน้ำเดือดจะต้องถอดปลั๊กทันที                        
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่

3.ขณะใช้งานควรวางบน พื้นที่ไม่ติดไฟและไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ

4.หม้อต้มน้ำร้อนต้องต่อ สายดิน แม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มภายนอกหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากจะมีไฟรั่วมากับน้ำที่เท หรือกดให้ไหลออกมากับท่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำภาชนะโลหะรองรับน้ำอาจถูกไฟดูดได้ (สามารถทดสอบได้ด้วยไขควงลองไฟ)

5.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย


วิธีใช้เครื่องซักผ้าให้ประหยัด พลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องซักผ้าให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

1. เลือกขนาดให้เหมาะสมกับ งานที่ใช้



2.ซักผ้าตามพิกัดของ เครื่อง อย่าใส่ผ้าอัดแน่นเกินกำลังของเครื่อง



3.การซักผ้าทีละ 2-3 ชิ้น ไม่เป็นการประหยัด และควรใช้น้ำร้อนซักผ้าเมื่อจำเป็นเท่านั้น 

4.ซักผ้าแล้วไม่จำเป็นต้อง ใช้เครื่องอบผ้าแห้งด้วยไฟฟ้า ควรใช้วิธี การผึ่งลมหรือผึ่งแดด



5.ต้องต่อสายดินและหมั่น ตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟอยู่เสมอ

6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ตามข้อ

วิธีใช้เตาไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

วิธีใช้เตาไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย

1.ทำกับข้าวต้องมีแผนการ ประกอบอาหารแต่ละครั้ง ควรเตรียมเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมเสียก่อน แล้วจึงเปิดสวิตช์เตาไฟฟ้า ตั้งกระทะประกอบอาหารแต่ละอย่างติดต่อกันไปรวดเดียวจนเสร็จ

2.ใช้ภาชนะก้นแบนภาชนะที่ ใช้ควรเป็นชนิดก้นแบนพอดีกับเตา ไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป และใช้ภาชนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้กับเตาไฟฟ้า

3.อาหารแช่แข็ง ทำให้หายแข็งก่อนโดยการนำอาหารลงมาแช่ที่ชั้นล่างก่อนการ ประกอบอาหารเป็นเวลานานพอสมควร4.ในการประกอบอาหารใส่น้ำ แต่พอควร5.ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็น ขดลวด เพราะจะไม่มีความร้อนสูญเปล่าและปลอดภัยกว่า

6.อย่าเปิดเตาบ่อย ๆ และขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ทนไฟหรือไม่ติดไฟ7.ก่อนประกอบอาหารเสร็จควร ปิดสวิตช์เตาไฟฟ้าเพราะความร้อนที่สะสมอยู่มีเพียงพอ8.ควรระวังไม่ให้ความร้อน จากเตาไฟฟ้าสัมผัสสายไฟฟ้า เพราะจะทำให้เปลือกสาย (ฉนวน) เสียหายได้และไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ เช่น กระดาษ
 
9.เตา ไฟฟ้าที่ใช้ปรุงอาหารจะให้ความร้อน ความร้อนที่เกิดจากเตาไฟฟ้าจะทำให้ฉนวนเสื่อมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีสายดินทุกเครื่องและคอยตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟอยู่เสมอ10. ดูข้อความปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 

คำ แนะนำด้านความปลอดภัยของเตารีด

คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเตารีด

1.ควรระวังไม่ให้ความร้อน จากเตารีดสัมผัสสายไฟฟ้าเพราะจะทำให้เปลือกสาย(ฉนวน) เสียหายได้2.สายปลั๊กของเตารีด เปลือกสาย (ฉนวน) ต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด3.ต้องคอยหมั่นตรวจสอบฉนวน ยางที่หุ้มสายเข้าเตารีด หากพบว่าเปื่อยหรือฉีกขาดควรรีบเปลี่ยนใหม่โดยช่างผู้มีความรู้ เพราะหากไม่รีบเปลี่ยนสายไฟบริเวณนั้นอาจชำรุดและถูกไฟดูดได้4.ขณะใช้งาน เมื่อหยุดรีดต้องวางบนวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย5.เตารีดที่ใช้ควรมีสายดิน และต่อลงดินผ่านทางเต้าเสียบ – เต้ารับที่มี
สายดินด้วย และหมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย                       

คำแนะนำด้านความปลอดภัยของพัดลม

คำแนะนำด้านความปลอดภัยของพัดลม

1. ไม่ควรมีวัสดุติดไฟใกล้บริเวณพัดลม เช่น ผ้าม่าน กองกระดาษ หรือหนังสือ
2. ควรเป็นพัดลมชนิดมีฉนวนประเภท 2 มิฉะนั้นต้องมีสายดิน
3. หมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
4. พัดลมที่เปิดแล้วไม่หมุนหรือหยุดหมุนจะร้อนและเกิดไฟไหม้ได้ให้รีบปิดพัดลม แล้วถอดปลั๊กเพื่อส่งซ่อมต่อไป
5. ตรวจสอบสภาพของสายอ่อนที่ใช้อยู่เสมอ ซึ่งฉนวนมักจะชำรุดได้ง่าย
6. อย่าพยายามเปิดพัดลม เพื่อระบายอากาศในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเชื้อเพลิง
7. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

1.ควรใช้พัดลมตั้งพื้นหรือ ตั้งโต๊ะแทนพัดลมติดเพดานเพราะจะกินไฟน้อยกว่าพัดลมติดเพดานประมาณครึ่งหนึ่ง
2.อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้ เมื่อไม่มีคนอยู่
3.เมื่อเลิกใช้แล้วควรปิด พัดลมและถอดปลั๊กออก
4.ปรับระดับความเร็วลมพอ สมควร
5.เลือกขนาดให้เหมาะสมกับ การใช้งาน
6.ควรเปิดหน้าต่างใช้ลม ธรรมชาติแทนถ้าทำได้

คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ

คำ แนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ

1.ควรต่อระบบสายดินกับ เครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ

2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่ เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาด 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง

3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือ สวิตซ์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ

4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตซ์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา และควรรอระยะ
เวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะสับสวิตซ์เข้าใหม่

5.หมั่นตรวจสอบขั้วและการ เข้าสายของจุดต่อต่าง ๆ อยู่เสมอ

6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน แอร์

วิธีใช้แอร์ให้ประหยัดพลังงาน

1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่าง ๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
3.ปรับปุ่มต่าง ๆ ให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
4.หมั่นทำความสะอาด แผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร ์เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่า ที่จำเป็น
6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
9.หน้าต่างหรือบานกระจกควร ป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้                     
ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้
- ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน
- ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้ 
- บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
- ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก
11.พยายามอย่าใช้เครื่อง ใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
12.ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ ระบายความร้อนสู่ภายนอก
- ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
- ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
 อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
 
1 ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
เลฃ 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
2 ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้


พื้นที่ห้องตาม ความสูงไม่เกิน 3 ม.
(ตร.ม.)
ขนาดของเครื่อง ปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)
13 - 14
7,000 - 9,000
16 - 17
9,000 - 12,000
20
11,000 - 13,000
23 - 24
13,000 - 16,000
30
18,000 - 20,000
40
24,000


3. ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER=บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5 – 10 บีทียู/ชม./วัตต์3.2 ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเลกคทรอนิกส์สำหรับควบคุม อุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000 – 24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5 – 13 บีทียู/ชม./วัตต์3.3 เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000 – 36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6 – 11 บีทียู/ชม./วัตต์
 

คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น

คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น

1.ควรติดตั้งระบบสายดินกับ ตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดิน

2.ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัว ตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำ ให้มีไฟรั่วน้อยลงได้

3.ตู้เย็นที่ดีควรจะมี สวิตซ์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้ง เมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที

4.หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่

5.อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณ ประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดี ให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย

6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 

วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน

วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน

1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือ การใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความ ร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด4.ปรับระดับให้เหมาะสมเวลา ตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง5. หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ6. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เมื่อเปิดแล้วก็ต้องรีบปิด7. ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง8. ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น9. ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น

การเลือกซื้อตู้เย็น

การเลือกซื้อตู้เย็น
การซื้อตู้เย็นนอกจากจะ ต้องคำนึงถึงราคาแล้ว ควรจะพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้

1 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟโดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
 
เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
เลข 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
2 ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ขนาดประมาณ 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับสมาชิก 2 คนแรกของครอบครัว แล้วเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน



3 ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก


4 ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาเย็นที่ยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตู

จะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า

5 ตู้เย็นชนิดที่ไม่น้ำเข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง6 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์ เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด 110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลงลดแรงดัน ทำให้กินไฟมากขึ้น

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ โทรทัศน์

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ โทรทัศน์

1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้ มั่นคงแข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ต่ำกว่า 3 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้ม ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงเกินความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงฟ้าผ่าลงที่เสา นอกจากนี้ควรให้เสาห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มพาดสายแรงสูงและ เกิดอันตรายได้

2.อย่าเปิดเครื่องรับ โทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศ
โทรทัศน์ด้วย

3.ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟและขั้วสายอากาศออกในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง
เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด

4.อย่าดูโทรทัศน์ใกล้เกิน ไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสีและคลื่น
สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป
 
5.วางโทรทัศน์ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
6.อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย7.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วิธีใช้เครื่องรับโทรทัศน์ให้ ประหยัดพลังงาน คือ

วิธีใช้เครื่องรับโทรทัศน์ให้ ประหยัดพลังงาน คือ

1. ควรเลือกดูรายการเดียวกัน2. ปิดเมื่อไม่มีคนดู3. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน นอกจากจะกินไฟแล้วโทรทัศน์จะชำรุดได้ง่ายด้วย4. ถ้าผู้ใช้นอนหลับหน้าโทรทัศน์บ่อย ๆ ควรติดสวิตซ์ตั้งเวลาเพิ่ม

วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน

9 วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน

1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือ การใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความ ร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด4.ปรับระดับให้เหมาะสมเวลา ตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง5. หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ6. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เมื่อเปิดแล้วก็ต้องรีบปิด7. ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง8. ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น9. ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น

10 คำแนะนำในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควร ดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามี กลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรส เซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่ มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
 
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่                        9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้ แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ ๆ10.ดูข้อควรปฏิบัติในการ ใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า

ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า
 
- บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
- บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–150% 
                     - การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110 – 120 องศาเซลเซียส

- บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง


ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้
 
1.ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน2.ในบริเวณที่ไม่จำ เป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วยสำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้ บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่าง ๆ4.ผนังห้องหรือ เฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำ ๆ ทึบ ๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล5.เลือกใช้โคมไฟฟ้า ประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม6.เลือกใช้ไฟตั้ง โต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ7.ให้ใช้บัลลาสต์ ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟ มี 2 แบบ คือ7.1 แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST) 7.2 แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC BALLAST)
8. ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก

ข้อแนะนำการใช้งานไฟฟ้าแสงสว่าง



ข้อแนะนำการใช้งาน ไฟฟ้าแสงสว่าง
1. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 - 5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับ หลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้

3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
3.1หลอด คอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใด ๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้



ให้ แสงสว่าง
เท่ากับหลอดไส้

9 W
 
40 W
13 W
60 W
18 W
75 W
25 W
100 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน


3.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่าย เมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ



ให้ แสงสว่าง
เท่ากับหลอดใส้

5 W
 
25 W
7 W
40 W
9 W
60 W
11W
75 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก

 

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น
20 - 75
พัดลมเพดาน
70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ
28 - 150
โทรทัศน์สี
80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ
25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว
70 - 145
หม้อหุงข้าว
450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า
200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ
200 -600
เตาไมโครเวฟ
100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง
800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน
2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม
400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า
750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่อง อบผ้า
3,000
เครื่องปรับอากาศ
1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น
750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า
40 - 90


การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1. ค่าไฟฟ้าฐาน1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วยแรก 150 x 1.8047เป็นเงิน 270.705บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781เป็นเงิน 694.525บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780เป็นเงิน 297.80บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน1,303.93บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100)เป็นเงิน 109.75บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรเป็นเงิน 1,413.68บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7เป็นเงิน 98.95บาท
รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,512.63บาท

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า วิธีเลือกซื้อแอร์

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า วิธีเลือกซื้อแอร์ พัดลม โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เตาหุงต้มไฟฟ้า หม้อชงกาแฟ เตาไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องเป่าผม เตารีดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดผุ่น

การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้
1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น
20 - 75
พัดลมเพดาน
70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ
28 - 150
โทรทัศน์สี
80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ
25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว
70 - 145
หม้อหุงข้าว
450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า
200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ
200 -600
เตาไมโครเวฟ
100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง
800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน
2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม
400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า
750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่อง อบผ้า
3,000
เครื่องปรับอากาศ
1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น
750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า
40 - 90


การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1. ค่าไฟฟ้าฐาน1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วยแรก 150 x 1.8047เป็นเงิน 270.705บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781เป็นเงิน 694.525บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780เป็นเงิน 297.80บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน1,303.93บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100)เป็นเงิน 109.75บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรเป็นเงิน 1,413.68บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7เป็นเงิน 98.95บาท
รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,512.63บาท